รูปถ่ายทางอากาศ (aerial photograph)
หมายถึง รูปภาพของลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก ซึ่งได้มาจากการถ่ายภาพทางอากาศ ด้วยวิธีการนำกล้องถ่ายรูปที่มีขนาดใหญ่และมีคุณภาพสูงกว่ากล้องถ่ายรูปทั่วไปติดไว้กับอากาศยานที่บินไปเหนือภูมิประเทศบริเวณที่ต้องการถ่ายภาพ
ภาพถ่ายแต่ละภาพต้องให้ครอบคลุมพื้นที่ทับซ้อนกันประมาณร้อยละ 60 เพื่อใช้สำหรับดูด้วยกล้องสามมิติและภาพแต่ละแนวต้องซ้อนทับกันประมาณร้อยละ 20-30 เพื่อป้องกันพื้นที่บางส่วนขาดหายไป เมื่อนำภาพที่ถ่ายได้มาเรียงต่อกันจะเห็นรายละเอียดของสิ่งต่างๆที่ปรากฏอยู่จริงบนพื้นผิวโลก
ประโยชน์ของรูปถ่ายทางอากาศ รูปถ่ายทางอากาศมีบทบาทสำคัญด้านยุทธศาสตร์การทหาร ซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาได้พัฒนาขึ้นทั้งด้านกล้องถ่ายภาพ เครื่องบิน และเทคนิควิธีการ ใช้เป็นข้อมูลยุทธศาสตร์ที่สำคัญในสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งปัจจุบัน
บทบาทของรูปถ่ายทางอากาศด้านพลเรือน มีการใช้รูปถ่ายทางอากาศเพื่อการทำแผนที่ และการสำรวจทางด้านโบราณคดี ธรณีวิทยา สมุทรศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา การวางแผนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การวางผังเมือง และระบบจราจร โดยเฉพาะในการแก้ไขแผนที่ที่ล้าสมัย จำเป็นต้องใช้รูปถ่ายทางอากาศมาเป็นข้อมูลในการแข้ไขปรับปรุง
กล้องถ่ายรูปที่ติดตั้งบนเครื่องบินทั่วๆไป มักกำหนดจุดโฟกัสไว้ตายตัว ปฏฺบัติงานด้วยพลังงานไฟฟ้า และใช้ฟิล์มแบบม้วนที่มีความเร็วในการรับแสงและสีได้เท่ากัน ขนาด 18x18 เซนติเมตร หรือ 23x23 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 300 เมตร บรรจุไว้ในซองที่ถอดเปลี่ยนได้
รูปถ่ายทางอากาศมีลักษณะคล้ายกับแผนที่แต่แผนที่มีมาตราส่วนตายตัว ขณะที่ค่าอัตราส่วนของรูปถ่ายทางอากาศมีความเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความสูง และมุมมองจากกล้องถ่ายรูป
รูปถ่ายทางอากาศแต่ละภาพจะมีชายขอบที่ทับซ้อนกัน คือ ทางแนวนอนประมาณร้อยละ 20-30 การนำรูปถ่ายทางอากาศมาต่อกัน เรียกว่า โมเสกภาพ (mosaic) การโมเสกภาพมีประโยชน์ในการแปลความหมายของรูปถ่ายทางอากาศ ซึ่งจะแสดงออกมาในลักษณะ 3 มิติ
แหล่งที่มาของข้อมูล โรงเรียนสงวนหญิง (sysp.ac.th) KruBow